วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เที่ยวสนุกๆๆ


1. อย่าไปที่ที่คนเยอะนึกแปลกใจอยู่เหมือนกัน ว่าพอที่ไหนฮิต ที่ไหนคนบอกต่อกันว่าสวยคนไทยก็มักจะแห่แหนเนืองแน่นไปเบียดเสียดเอียดออดกันเที่ยวจนในที่สุดทริปนั้นก็ไม่สนุก แถมยังได้ความน่าเบื่อกลับมาอีกเป็นกระบุงอ้าว... ไปเที่ยว ไปพักผ่อน ไม่ได้ไปเครียดนะเฟร้ย ฉะนั้นก็วางแผนให้ดีที่ที่คนว่าเยอะ ถ้าอยากไปจริงๆ ก็ไปวันธรรมดา ลางานไปเลยได้ยิ่งดีแต่ถ้าไม่สนใจอะไรมาก ก็ลองหาที่ที่ทำนองคล้ายกัน แต่แลดูคนน้อยกว่าก็ย่อมได้นะเธอว์



2. อย่าไปที่ที่คนน้อยอ้าว! เมื่อกี้เพิ่งบอกว่าอย่าไปที่ที่คนเยอะ พอฉันมาที่ที่คนน้อยก็ผลักไสให้ฉันไปหาที่ที่คนเยอะแทน จะเอายังไง ห๊าาา ...จริงอยู่ ที่ที่คนน้อยจะสงบสุข สบายใจ ไร้การรบกวนใดๆ จากกองทัพผู้คนเรือนแสนจนนึกไปได้ว่าเป็นงานโอท๊อปแถวๆ เมืองทองธานี แต่ที่ที่คนน้อยเหล่านี้อาจต้องแลกมาด้วยความไม่ปลอดภัย และการหลอกลวงต่างๆ นานาซึ่งเราก็ต้องระวังไว้เป็นดี โดยเฉพาะสาวๆ ไปคนเดียว หรือสองคนถ้าไปย่านที่คนน้อยแบบนี้ รังแต่จะไม่สนุกเอา เพราะมัวแต่กลัวว่าจะมีชายฉกรรจ์มายื้อยุดฉุดกระชากไปทำมิดีมิร้ายหรือเปล่าก็ไม่รู้ได้

3. วางแผนเที่ยวทั้งทีก็ต้องมีวางแผน เพราะถ้าไม่อย่างนั้นตารางการท่องเที่ยวก็จะรวนเรและไม่สามารถจัดให้ลงตัวกับช่วงเวลาว่างของเราได้ เว้นเสียแต่ว่าอยากจะกลับวันไหนก็ได้ อันนั้นก็อย่าวางแผนเลย แต่กระนั้นแล้วการวางแผนที่ดีก็ควรที่จะคิดวิเคราะห์แยกแยะ (ย่อว่า ควย.) กันอย่างดีอย่าคิดพึ่ง ททท. หรือคู่มือนำเที่ยวเด็ดขาด เพราะเวลาไปเที่ยวจริงๆหลายสิ่งที่ ททท. หรือในคู่มือบอกกับเราเอาไว้นั้น มันไม่จริงเลยด้วยซ้ำเช่น ถ้าคุณไปยังวัดนี้ คุณจะได้พบกับเจ้าอาวาสใจดีคอยให้ความรู้เรื่องจิตรกรรมฝาผนังอย่างเป็นมิตร แต่พอไปจริงๆ อ้าว หมาเห่ายังไม่พอ  ไม่มีใครเฝ้าโบสถ์คอยให้คำแนะนำเรื่องศิลปกรรมอีก เจ้าอาวาสอยู่ไหน!!!

4. อย่าวางแผนเอาอีกละ มึงจะเยอะไปไหน เดี๋ยว Do อีกข้อบอก Don't จ๊ะ!!! (กูเพลีย)...ใจร่มๆ ก่อนครับท่าน ที่บอกว่าอย่าวางแผนก็หมายถึง ในการวางแผนที่ว่าไว้ในข้อสามนั้น อย่าแน่นอนจนเกินไป เช่น เช้านี้ต้องไปกินโจ๊กที่ร้านนี้เท่านั้น ร้านอื่นไม่อร่อย เที่ยงต้องไปไหว้พระวัดนี้ เค้าว่าดวงจะดีตลอดทั้งปี ส่วนตอนเย็นต้องไปเดินถนนคนเดินเส้นนี้เท่านั้น เพราะเส้นอื่นจะไม่ค่อยมีของขายและมีแต่ของกิ๊กก๊อกไม่เก๋เท่าเส้นที่จะไป ปรากฏว่าร้านโจ๊กปิดเพราะลูกบวช วัดนั้นปิดเพราะต้องบูรณะพระอุโบสถแถมตอนเย็นฝนตก ถนนคนเดินไม่ทำกิจการค้าขายกันอีก ต๊ายยยซวยแบบนี้แนะนำให้ไปสะเดาะเคราะห์ด่วน! ...นั่นแหละ เผื่อตารางการท่องเที่ยวไว้บ้าง อาจจะเว้นว่างแบบโง่ๆ เช่นจะไปที่นี่ แต่ถ้าที่นี่ปิดก็ให้รถเค้าแนะนำที่อื่นเอาละกัน (พยายามดายหน้าเอาไว้เยอะๆจะสนุกมาก พูดจริงนะ เพราะการได้เที่ยวแบบไม่เป็นไปตามคาดนี่แหละมันแสนจะสนุกและท้าทายอย่าบอกใคร :D)

5. พกแผนที่ไว้เป็นดีในเมื่อเราไม่ใช่พี่ติ๊กจากรายการเนวิเกเตอร์ที่จะบอกทางไปไหนมาไหนให้ใครล่วงรู้ได้ การมีแผนที่ติดตัวก็เป็นเรื่องดี เพราะบางที บางจังหวัดตรอกซอกซอยเยอะโยงใยยิ่งกว่าในเมืองหลวง เดินไปเดินมาอาจจะหลงทางได้ (ข้าพเจ้าเคยหลงเมืองเชียงใหม่มาแล้ว!) แต่ก็อย่าเวอร์จนเกินงามด้วยการทำเป็นพกจีพีอาร์เอส หรืออะไรทำนองนั้นแหมๆ จะเอาเป๊ะๆ จริงๆ ใช่มั้ย บอกแล้วไงว่าอย่าวางแผน!

6. อย่าพกแผนที่อีเงาะกระป๋อง ตกลงจะเอายังไง สักอย่างๆ ... ที่บอกว่าอย่าพกแผนที่ก็เพราะว่า การไปเที่ยวยังต่างบ้านต่างเมือง การทำตัวให้กลมกลืนกับคนในพื้นที่เป็นสิ่งดี การไปยืนโง่อยู่ตรงสี่แยกแล้วกางแผนที่ขนาดเอสองเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ เพราะนอกจากจะเสี่ยวแล้ว ยังน่าอายเป็นที่สุดในกรณีที่หลงทางหรือไม่รู้จริงๆ แผนที่ที่ดีที่สุดในตอนนี้ก็คือ "ปาก"ใช่แล้ว! ถามทางเอาสิครับ ง่ายจะตายไป นอกจากจะได้คำแนะนำแบบรู้ลึกรู้ลัดจากคนในท้องถิ่นแล้ว ยังได้มีโอกาสสานสัมพันธ์เชื่อมสันติภาพกับคนในพื้นที่อีกด้วยนะเออ (อ่อ... ข้อดีอีกอย่างของการไม่กางแผนที่โชว์ความเก๋าก็คือ พวกมิจฉาชีพจะได้ไม่รู้ว่าเราเป็นนักท่องเที่ยว ซึ่งจะหลอกง่ายมาก ยิ่งพวกมอเตอร์ไซค์รับจ้างเอย รถรับจ้างเอย ชอบหลอกนักท่องเที่ยวหลงทางบ่อยๆผู้เขียนเคยเจอมาแล้ว แค่นั่งรถไปไม่เท่าไหร่ โดนไปร้อยกว่าบาทเห็ดสดมาก)

7. พกสมุดถ้าไม่อยากโชว์ความด้วยการผกแผนที่ขนาดเท่าเสื่อกระจูดแล้วล่ะก็การคัดลอกแผนที่ใส่สมุดก็เป็นสิ่งที่ดี แถมยังสามารถเขียนอะไรใส่ลงไปได้ตามชอบใจ อย่างบางทีเราเจอร้านอร่อยๆ ที่ไม่มีในคู่มือ รวมไปถึงแลนด์มาร์คแปลกๆ ที่แผนที่มันไม่บอกเราหรอก (อย่างต้นจามจุรียักษ์บ้านเก่าสมัยอาณานิคม เป็นต้น) สมุดเล่มเล็กนี้แหละ ช่วยเราได้ดีมากในยามที่สมองของเราไม่สามารถจดจำได้ทั้งหมดของทริป อย่าได้อายหากเพื่อนจะล้อว่า ว้ายๆๆๆ กระแดะจริงเชียว ไปเที่ยวแค่นี้ก็ต้องจดกรุณาตอกกลับมันไปว่า "เออ กรูเท่ห์ อย่ามาอิจฉา ชิส์"


8. พกกล้องแหมๆๆๆ ใครไปเที่ยวแล้วไม่พกกล้องไปด้วยนี่จัดว่าวิกฤติชีวิตต้องรีบวิ่งกลับบ้านระยะทางสามสิบกิโลแบบเด็กวัลลีเพื่อไปเอามาให้ได้เชียวเพราะบางที่สมองส่วนเซเลบรัมก็ไม่สามารถจะจดจำบรรยากาศของสถานที่ทั้งหมดได้ด้วยเรตินาเดียว แต่กล้องก็ช่วยเราบันทึกได้ในระดับหลายล้านพิกเซล ซูมเห็นถึงจุลินทรีย์ มีหรือจะไม่พกกล้องไปเที่ยวแต่!!! ก็อย่าถือกล้องแชะๆ จนเคยตัว มองบรรยากาศผ่านรูม่านตาบ้างอย่ามัวแต่มองจากรูชัตเตอร์เพียงอย่างเดียว ถ้าถ่ายกันแบบจริงจังขนาดนั้น ก็ส่งไปให้อนุสาร อสท. เค้าลงเลยดีกว่ามั้ย :D(หรืออย่างเวลาเราไปบ้านของชาวบ้าน อย่าเริ่มต้นด้วยการแชะแต่ควรเริ่มต้นด้วยการแชตก่อนน่าจะดีกว่านะ)

9. กินได้ กินไปอย่ารังเกียจอาหารพื้นถิ่น ถ้าร่างกายยังรับไหว ไม่มีอาการแพ้ก็ลองเถอะอาหารบ้างอย่างหากินไม่ได้จากที่ไหน ถ้าจะยอมอดตายไม่กินก็เสียดายอยู่อย่าเอาความเคยชินจากชีวิตปกติมาใช้ในพฤติกรรมการกิน เพราะถ้าเรามัวแต่กินกระเพราะไก่ไข่ดาวทุกมื้อของการท่องเที่ยว เราก็ไม่มีทางรู้เลยว่าเมี่ยงพันผัก อาหารพื้นเมืองของอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์มันเป็นยังไงจริงมั้ย? (สำหรับคนที่แพ้อาหารทะเล แนะนำว่าอย่าฝืนกิน แต่เปิดปากคุยกับชาวบ้านตามตรงว่า มีอาหารท้องถิ่นแบบที่ไม่มีส่วนผสมของอาหารทะเลหรือไม่ ถ้าไม่มีให้เลยสักเมนูก็อย่าเสียใจไป เราเชื่อว่าชาวบ้านจะเข้าใจคุณ)

10. นอนได้ นอนไปโรงแรมหรูคืนละพันอัพ อาจไม่ได้ฟีลท้องถิ่นเท่าโรงแรมผีหลอนๆ ราคาคืนละ120 บาทขาดตัว แถมด้วยโปรโมชั่นเสาตกน้ำมันให้หลอนกันเล่นๆ (แฮร่ย์!!!)คำถามคือ ก็ชั้นมีเงิน แล้วชั้นจะนอนโรงแรมดีๆ ไม่ได้หรือไง ผู้เขียนขอตอบว่าได้สิครับ ทำไมจะไม่ได้ แต่โรงแรมหรูๆ มักอยู่ห่างจากตัวตลาด ซึ่งหมายความว่าถ้าอยากกินมื้อเช้าอร่อยๆ ก็ต้องลงทุนตื่นแต่เช้า แถมยังต้องต่อรถเข้ามาตลาดอีกต่างหาก สู้นอนโรมแรมจิ้งหรีดติดตลาด แต่ได้ยินเสียงปลุกยามเช้าของพ่อค้าแม่ขายไม่ดีกว่าเหรอ อาจจะหลอนไปหน่อย แต่ก็ได้ความท้องถิ่นแบบเต็มๆ และเป็นแบบที่ไม่มีใครเหมือนอีกด้วย....อย่างที่บอกเอาไว้ในหลายๆ ข้อ การจะเที่ยวให้สนุกได้นั้นทางที่ดีควรจะทำให้การเที่ยวทริปนั้นๆ แปลกใหม่พยายามใส่กิมมิคเล็กๆ น้อยๆ ลงไป เพื่อให้ทริปสนุกขึ้นเช่น วันนี้จะนั่งแต่รถโดยสาร วันนี้จะโบกรถอย่างเดียวหรือทริปนี้จะกินอาหารไม่ซ้ำกัน เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้ทริปของเราสนุกขึ้นหลายกอง แถมยังน่าเอามาเล่าเอามาบอกต่อให้คนทั่วไปได้อิจฉาได้อีกหลายกรณี

สุดท้ายนี้ เที่ยวไทยให้สนุก อย่ามัวแต่วางแผน อย่ามัวแต่ดูแผนที่เงยหน้าขึ้นมาครับ แล้วปล่อยให้สิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้ดำเนินไปตามครรลองของมัน เราแค่เข้าไปทำความรู้จัก และเข้าไปทำความรู้สึกอย่าได้คิดแม้แต่จะคิดเข้าไปทำลายเชียว

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


เตรียมความพร้อม ก่อนออกเดินทาง

เคยมั๊ยที่เวลาจะไปไหนที ต้องสับสนวุ่นวายกับการ จัดเตรียม สิ่งของเครื่องใช้ เช่นเอานั่นไปดีมั๊ย เอานี่ไปด้วยดีกว่า คนที่ไปบ่อยๆ ก้อไม่ค่อยจะเท่าไหร่คนที่นานๆไปที นั่งมองกระเป๋าที มองสัมภาระทีจะเอาไปยังไงดี หมอนข้างก้ออยากเอาไป ตุ๊กตาก้อต้องเอาไป เสื้อล่ะ ตัวนี้ไว้ใส่ตอนเช้า ตัวนี้ใส่ตอนบ่าย ชุดนอนกี่ชุดดี รองเท้ากี่คู่ดี หมวกอีก แว่นตากันแดดล่ะ อุปกรณ์เสริมอีก กล้องถ่ายรูป กล้องส่องทางใกล้ ทางไกล อะไรอีกล่ะ ลืมอะไรรึป่าวนะ

การเตรียมของใช้ส่วนตัว
  1. ประเภทเครื่องนุ่มห่ม ก้อ เช่นเสื้อ กางเกง ชุดชั้นใน เสื้อกันหนาว เสื้อกันฝน(เฉพาะฤดู) ผ้าเช็ดตัว หมวกถ้าหนาวมากก้อหมวกไอ้โม่ง ถุงเท้า รองเท้าเดินป่า รองเท้าแตะ โดยเฉพาะเสื้อกางเกงและชุดชั้นใน นอกจากจะเตรียมไว้ครบจำนวนวันแล้ว ให้เตรียมเผื่อไว้สัก 1-2 ชุด (เผื่อเพื่อนที่มันมักง่ายไปค่อยจะพกพาไป คอยหายืมเอากับเพื่อนๆที่นิสัยดีดีอย่างพวกเรา ส่วนใหญ่ใครให้ไปก้อมักจะไม่ได้คืนด้วยนะ มักจะทำเป็นหวังดีเอากลับไปซักให้หรือไม่ก้อทำเป็นซึมๆใส่กลับไปเลย) เครื่องนุ่มห่มแต่ละชิ้นควรกระชับตัว ไม่รุ่มร่าม เพื่อความคล่องตัวในการเดินทางท่องเที่ยว
  2. นี่ก้อพวกเครื่องนอน เช่นเต็นท์ (กรณีไม่ได้พักบ้านหรือโรงแรม ก็จะได้บรรยากาศชีวิตกลางแจ้ง แต่อุทยานฯ ส่วนใหญ่จะมีไว้บริการให้เช่า) หมอน ผ้าห่ม หรือถุงนอน ผ้าสำหรับปูนอน หรือแผ่นยางปูนอน กรณีที่นำรถยนต์ไปอยู่แล้วควรเตรียมไปเผื่อให้เพียงพอ ของเหล่านี้ไม่หนักรถ หากเตรียมไปไม่พอจะเกิดปัญหาและเที่ยวไม่สนุก
  3. ยาและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำคัญนะ ยาใส่แผลสด แนะนำให้ใช้เบตาดีน จะไม่แสบเมื่อใส่แผลสด ยาปวดลดไข้ จำพวกพาราเซตตามอล ยาแก้แพ้ จำพวกคอลเฟนนิรามีน ยาแก้ท้องเสีย Lexinor ยาธาตุ ยาลดกรด ยาทาแก้-ลดพิษหรือผดผื่นคัน ยานวดแก้เมื่อย หรือกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้ออักเสบ ยาหม่อง แอมโมเนีย สำลี ผ้าพันแผล พลาสเตอร์ปิดแผล สำลีพันก้าน และยาประจำตัว ชุดยาต่าง ๆ ควรมีกล่องใส่เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ โดยจัดลงในกล่องอุปกรณ์เบ็ดตกปลาก็ได้ เพราะมีช่องแบ่งไว้ซึ่งจะอยู่เป็นระเบียบ และง่ายต่อการตรวจว่าสิ่งไหนขาดหาย ถ้าจะให้ดี ควรจะหาเพื่อนเป็นพยาบาลแล้วซะเลย
  4. เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ขันน้ำ ถังน้ำ แก้วน้ำ กระติกน้ำ ไฟแช็ก เทียนไข ดินสอ เข็มเย็บผ้า เข็มกลัดซ่อนปลาย ถุงพลาสติก เชือก มีดอเนกประสงค์ ช้อน จาน ชาม หม้อ เตาแก๊ส(กรณีประกอบอาหารเอง) ที่เปิดกระป๋อง ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย(ควรตรวจสอบขนาดที่ใช้ให้ตรงกับไฟฉายที่นำไปด้วย) กระดาษชำระ ยากันยุงแบบทาและตะเกียง ฯลฯ
การเตรียมตัวท่องเที่ยวโดยรถยนต์โดยส่วนใหญ่สามารถนำข้าวของติดไปได้เยอะ แต่ต้องคำนึงถึงด้วยว่าน้ำหนักรวมของรถมีผลกับค่าใช้จ่ายน้ำมันในการเดินทางด้วยนะครับ น้ำหนักน้อยกินน้ำมันน้อย น้ำหนักมากินน้ำมันมาก สิ่งของบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องใช้หรือต้องเผื่อ ก็ควรเก็บไว้ที่บ้าน และในการนำสัมภาระไปหลายๆรายการนั้น ขอแนะนำให้จัดทำบัญชีรายการสิ่งของเพื่อการสะดวก ในการตรวจสอบว่าของครบหรือไม่ทั้งขาไปและขากลับ

การเตรียมยานพาหนะสำหรับเดินทาง
รถยนต์ใช้สำหรับเดินทางนั้นจำเป็นต้องตรวจสอบให้เป็นพิเศษ นอกเหนือจากการตรวจสอบ ประจำวัน เพราะถ้ารถยนต์ของคุณเกิดเสีย หรือมีปัญหาระหว่างทางแล้ว การเดินทางครั้งนั้นจะหมดสนุกอย่างน่าเสียดาย การตรวจและเตรียมยานพาหนะ ทำตามนี้ละกัน ช่วยได้ไม่มาก้อน้อยแหละครับ
  1. ตรวจดูระดับน้ำมันเครื่อง ให้อยู่ในระดับขีดสูงสุด เปลี่ยนน้ำมันเครื่องถ้าหมดอายุการใช้งาน หรือจำนวนระยะการเดินทาง ถ้าเกินจากระยะเปลี่ยนน้ำมันมาก ๆ ให้เปลี่ยนก่อนอย่าเสียดาย
  2. ตรวจดูระดับน้ำมันเบรค น้ำมันคลัส น้ำมันสำหรับระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ น้ำหล่อเย็นทั้งหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ และน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ ถ้ามีระดับลงลงจากระดับปกติ ให้เติมถึงขีดสูงสุด
  3. ตรวจดูสภาพยางทั้ง 4 ล้อ และยางอะไหล่ ถ้ามีบาดแผลใหญ่ ๆ หรือหมดอายุให้เปลี่ยน ตรวจระดับแรงลมยาง ให้อยู่ในค่ากำหนดของขนาดยางที่ใช้ (สังเกตที่ขอบประตูด้านคนขับจำมีคำชี้แจงติดอยู่)
  4. ตรวจดูไฟทุกดวงว่าทำงานหรือไม่ ที่ปัดน้ำฝน ยางที่ปัดน้ำฝนควรเปลี่ยนเมื่อปาดน้ำฝน ในกระจกไม่หมด
  5. ตรวจดูมาตรวัดต่าง ๆ เข็มไมล์และไฟเตือนทุกดวงบนหน้าปัด ว่าแสดงอยู่ที่ การใช้งานปกติ
  6. ดูอุปกรณ์แม่แรง และเครื่องมือประจำรถให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะแม่แรงต้องดูให้ดี ว่าสามารถรับน้ำหนักรถของคุณได้แน่ ถ้ายังไม่เคยใช้ทดลองซะเลย จะได้ไม่ฉุกละหุกจนทำอะไรไม่ถูก
  7. ควรมีสายไฟสำหรับพ่วงแบตเตอรี่ สลิงค์ลากรถ และสปอตไลท์ติดรถยนต์
  8. ตรวจสอบรอยรั่วซึมใต้ท้องรถยนต์ สังเกตุได้จาก เวลาที่เราจอดนาน มีอะไรหยดลงมาจากตัวรถมั๊ย อาจจะเป็นน้ำมันหรือน้ำจากแอร์ ถ้าไม่แน่ใจหรือว่าแน่ใจแล้ว ให้แก้ไขหรือถ้าไม่ไหว ยากไปก็ส่งซ่อมทันที อย่ามองข้ามความปลอดภัย
  9. ตรวจดูน้ำมันเชื้อเพลิงให้เต็ม และควรจะเติมให้เต็มในกรณีที่เข้าเส้นทางที่ไม่รู้จัก หรือเส้นทางที่เปลี่ยว หากมีถังน้ำมันสำรองก็ควรเติมให้เต็มเช่นกัน ถ้าให้ดี ตรวจสอบด้วยว่า ช่วงหลักกิโลเมตรไหน มีปั๊ม ไม่มีปั๊ม โดยดูจากในแผนที่หรือสอบถามผู้ที่เคยใช้เส้นทาง
  10. ศึกษาแผนที่การเดินทางของคุณ จะได้ไม่เสียเวลาไปผิดเส้นทางและเพื่อจะกำหนดเวลาสถานที่แวะพักทั้งรถและคน ในกรณีที่เดินทางไกลมากๆ ส่วนใหญ่จะแวะปั๊มน้ำมัน เพราะมีบริการที่เราต้องการอย่างครบถ้วน (ปัจจุบันมีทราบมาว่ามีร้านทำผม

วิธีการเลือกที่พักที่เหมาะกับคุณ

โพสโดย chit เมื่อ Wed Mar 19, 2008 8:55 am
วิธีการเลือกที่พักที่เหมาะกับคุณ
การเลือกที่พักนั้นควรจะเลือกให้ดี เพราะเราก็ไม่ได้เปลี่ยนที่พักบ่อยๆ

1.เรื่องความใกล้ไกลระหว่างถนนสายหลักกับที่พัก
2.ความปลอดภัย 

3.น้ำท่วม กรุงเทพฯหลายๆพื้นที่ พอฝนตกหนักเมื่อไหร่น้ำท่วมเมื่อนั้น ถือเป็นเรื่องธรรมดามาก 

4.ตำแหน่งของห้อง อย่าเลือกห้องพักที่อยู่ใช้บนสุด ตอนกลางวันนั้นท่านอาจจะร้อนตับแตกได้ เพราะความร้อนจะแพร่ผ่านดาดฟ้าลงมาสู่ห้องโดยตรง ทำให้ห้องนั้นร้อนเป็นพิเศษ นอกจากนั้นยังต้องเดินขึ้นลงบันไดจนเมื่อยแน่ๆ หากที่พักนั้นๆ ไม่มีลิฟต์ 

5.ร้านค้า ร้านอาหาร ควรจะมีอยู่ใกล้ในละแวกนั้นๆ สามารถเดินไปได้ 

6.บันทึกเบอร์โทรศัพท์ของสถานีตำรวจในเขตนั้นๆในกระเป๋าสตางค์และในโทรศัพท์มือถือไว้ เพราะเบอร์ 191 ของประเทศไทยนั้นมักจะโทรไม่ติดตอนมีเหตุฉุกเฉินเสมอ หรือจะโทรไปที่ จส.100 ก็ได้ ที่เบอร์ 1137 ที่จส.100จะมีเจ้าหน้าที่คอยส่งต่อข้อความของคุณไปที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกที

7.สัญญาเช่า ควรอ่านดูให้ละเอียดทุกตัวอักษร โดยเฉพาะที่เขียนไว้ว่าหากเลิกเช่าก่อน 6 เดือนหรือ 1 ปี ทำผิดสัญญาจะไม่ได้เงินมัดจำคืน การกระทำอะไรที่จะถือว่าผิดสัญญาได้ต้องอ่านและทำความเข้าใจให้ดี 

8. คลื่นโทรศัพท์มือถือ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ อพาร์ทเมนท์บางที่อยู่ใจกลางกรุง พอเข้าไปในห้องปุ๊บ 

9. ที่จอดรถ ดูด้วยว่าที่จอดรถยนต์นั้นเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ มีจอดพอไม๊
ระยะเวลาในการขโมยรถ
ถ้าเป็นมอเตอร์ไซต์ที่ไม่มีการป้องกันอะไรเพิ่มเติมเลย กระพริบตา 10 ครั้ง รถก็หายไปแล้ว
รถยนต์ 10-60 นาที ขึ้นอยู่กับระบบป้องกัน ถ้ารถคุณสามารถทำให้โจรเหนื่อยเกิน 60 นาทีได้ คุณโจรจะไปเลือกรถคันอื่นแทน

10. สังเกตุแม่บ้านที่ทำความสะอาดและบุคคลที่มีการสังสรรค์กันตอนกลางคืน

สุดท้าย ถามบุคคลที่พักอาศัยแถวนั้นว่ามีเหตุการณ์ที่ดีหรือไม่ดีหรือไม่

http://th.ipanelonline.com