วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


เตรียมความพร้อม ก่อนออกเดินทาง

เคยมั๊ยที่เวลาจะไปไหนที ต้องสับสนวุ่นวายกับการ จัดเตรียม สิ่งของเครื่องใช้ เช่นเอานั่นไปดีมั๊ย เอานี่ไปด้วยดีกว่า คนที่ไปบ่อยๆ ก้อไม่ค่อยจะเท่าไหร่คนที่นานๆไปที นั่งมองกระเป๋าที มองสัมภาระทีจะเอาไปยังไงดี หมอนข้างก้ออยากเอาไป ตุ๊กตาก้อต้องเอาไป เสื้อล่ะ ตัวนี้ไว้ใส่ตอนเช้า ตัวนี้ใส่ตอนบ่าย ชุดนอนกี่ชุดดี รองเท้ากี่คู่ดี หมวกอีก แว่นตากันแดดล่ะ อุปกรณ์เสริมอีก กล้องถ่ายรูป กล้องส่องทางใกล้ ทางไกล อะไรอีกล่ะ ลืมอะไรรึป่าวนะ

การเตรียมของใช้ส่วนตัว
  1. ประเภทเครื่องนุ่มห่ม ก้อ เช่นเสื้อ กางเกง ชุดชั้นใน เสื้อกันหนาว เสื้อกันฝน(เฉพาะฤดู) ผ้าเช็ดตัว หมวกถ้าหนาวมากก้อหมวกไอ้โม่ง ถุงเท้า รองเท้าเดินป่า รองเท้าแตะ โดยเฉพาะเสื้อกางเกงและชุดชั้นใน นอกจากจะเตรียมไว้ครบจำนวนวันแล้ว ให้เตรียมเผื่อไว้สัก 1-2 ชุด (เผื่อเพื่อนที่มันมักง่ายไปค่อยจะพกพาไป คอยหายืมเอากับเพื่อนๆที่นิสัยดีดีอย่างพวกเรา ส่วนใหญ่ใครให้ไปก้อมักจะไม่ได้คืนด้วยนะ มักจะทำเป็นหวังดีเอากลับไปซักให้หรือไม่ก้อทำเป็นซึมๆใส่กลับไปเลย) เครื่องนุ่มห่มแต่ละชิ้นควรกระชับตัว ไม่รุ่มร่าม เพื่อความคล่องตัวในการเดินทางท่องเที่ยว
  2. นี่ก้อพวกเครื่องนอน เช่นเต็นท์ (กรณีไม่ได้พักบ้านหรือโรงแรม ก็จะได้บรรยากาศชีวิตกลางแจ้ง แต่อุทยานฯ ส่วนใหญ่จะมีไว้บริการให้เช่า) หมอน ผ้าห่ม หรือถุงนอน ผ้าสำหรับปูนอน หรือแผ่นยางปูนอน กรณีที่นำรถยนต์ไปอยู่แล้วควรเตรียมไปเผื่อให้เพียงพอ ของเหล่านี้ไม่หนักรถ หากเตรียมไปไม่พอจะเกิดปัญหาและเที่ยวไม่สนุก
  3. ยาและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำคัญนะ ยาใส่แผลสด แนะนำให้ใช้เบตาดีน จะไม่แสบเมื่อใส่แผลสด ยาปวดลดไข้ จำพวกพาราเซตตามอล ยาแก้แพ้ จำพวกคอลเฟนนิรามีน ยาแก้ท้องเสีย Lexinor ยาธาตุ ยาลดกรด ยาทาแก้-ลดพิษหรือผดผื่นคัน ยานวดแก้เมื่อย หรือกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้ออักเสบ ยาหม่อง แอมโมเนีย สำลี ผ้าพันแผล พลาสเตอร์ปิดแผล สำลีพันก้าน และยาประจำตัว ชุดยาต่าง ๆ ควรมีกล่องใส่เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ โดยจัดลงในกล่องอุปกรณ์เบ็ดตกปลาก็ได้ เพราะมีช่องแบ่งไว้ซึ่งจะอยู่เป็นระเบียบ และง่ายต่อการตรวจว่าสิ่งไหนขาดหาย ถ้าจะให้ดี ควรจะหาเพื่อนเป็นพยาบาลแล้วซะเลย
  4. เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ขันน้ำ ถังน้ำ แก้วน้ำ กระติกน้ำ ไฟแช็ก เทียนไข ดินสอ เข็มเย็บผ้า เข็มกลัดซ่อนปลาย ถุงพลาสติก เชือก มีดอเนกประสงค์ ช้อน จาน ชาม หม้อ เตาแก๊ส(กรณีประกอบอาหารเอง) ที่เปิดกระป๋อง ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย(ควรตรวจสอบขนาดที่ใช้ให้ตรงกับไฟฉายที่นำไปด้วย) กระดาษชำระ ยากันยุงแบบทาและตะเกียง ฯลฯ
การเตรียมตัวท่องเที่ยวโดยรถยนต์โดยส่วนใหญ่สามารถนำข้าวของติดไปได้เยอะ แต่ต้องคำนึงถึงด้วยว่าน้ำหนักรวมของรถมีผลกับค่าใช้จ่ายน้ำมันในการเดินทางด้วยนะครับ น้ำหนักน้อยกินน้ำมันน้อย น้ำหนักมากินน้ำมันมาก สิ่งของบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องใช้หรือต้องเผื่อ ก็ควรเก็บไว้ที่บ้าน และในการนำสัมภาระไปหลายๆรายการนั้น ขอแนะนำให้จัดทำบัญชีรายการสิ่งของเพื่อการสะดวก ในการตรวจสอบว่าของครบหรือไม่ทั้งขาไปและขากลับ

การเตรียมยานพาหนะสำหรับเดินทาง
รถยนต์ใช้สำหรับเดินทางนั้นจำเป็นต้องตรวจสอบให้เป็นพิเศษ นอกเหนือจากการตรวจสอบ ประจำวัน เพราะถ้ารถยนต์ของคุณเกิดเสีย หรือมีปัญหาระหว่างทางแล้ว การเดินทางครั้งนั้นจะหมดสนุกอย่างน่าเสียดาย การตรวจและเตรียมยานพาหนะ ทำตามนี้ละกัน ช่วยได้ไม่มาก้อน้อยแหละครับ
  1. ตรวจดูระดับน้ำมันเครื่อง ให้อยู่ในระดับขีดสูงสุด เปลี่ยนน้ำมันเครื่องถ้าหมดอายุการใช้งาน หรือจำนวนระยะการเดินทาง ถ้าเกินจากระยะเปลี่ยนน้ำมันมาก ๆ ให้เปลี่ยนก่อนอย่าเสียดาย
  2. ตรวจดูระดับน้ำมันเบรค น้ำมันคลัส น้ำมันสำหรับระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ น้ำหล่อเย็นทั้งหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ และน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ ถ้ามีระดับลงลงจากระดับปกติ ให้เติมถึงขีดสูงสุด
  3. ตรวจดูสภาพยางทั้ง 4 ล้อ และยางอะไหล่ ถ้ามีบาดแผลใหญ่ ๆ หรือหมดอายุให้เปลี่ยน ตรวจระดับแรงลมยาง ให้อยู่ในค่ากำหนดของขนาดยางที่ใช้ (สังเกตที่ขอบประตูด้านคนขับจำมีคำชี้แจงติดอยู่)
  4. ตรวจดูไฟทุกดวงว่าทำงานหรือไม่ ที่ปัดน้ำฝน ยางที่ปัดน้ำฝนควรเปลี่ยนเมื่อปาดน้ำฝน ในกระจกไม่หมด
  5. ตรวจดูมาตรวัดต่าง ๆ เข็มไมล์และไฟเตือนทุกดวงบนหน้าปัด ว่าแสดงอยู่ที่ การใช้งานปกติ
  6. ดูอุปกรณ์แม่แรง และเครื่องมือประจำรถให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะแม่แรงต้องดูให้ดี ว่าสามารถรับน้ำหนักรถของคุณได้แน่ ถ้ายังไม่เคยใช้ทดลองซะเลย จะได้ไม่ฉุกละหุกจนทำอะไรไม่ถูก
  7. ควรมีสายไฟสำหรับพ่วงแบตเตอรี่ สลิงค์ลากรถ และสปอตไลท์ติดรถยนต์
  8. ตรวจสอบรอยรั่วซึมใต้ท้องรถยนต์ สังเกตุได้จาก เวลาที่เราจอดนาน มีอะไรหยดลงมาจากตัวรถมั๊ย อาจจะเป็นน้ำมันหรือน้ำจากแอร์ ถ้าไม่แน่ใจหรือว่าแน่ใจแล้ว ให้แก้ไขหรือถ้าไม่ไหว ยากไปก็ส่งซ่อมทันที อย่ามองข้ามความปลอดภัย
  9. ตรวจดูน้ำมันเชื้อเพลิงให้เต็ม และควรจะเติมให้เต็มในกรณีที่เข้าเส้นทางที่ไม่รู้จัก หรือเส้นทางที่เปลี่ยว หากมีถังน้ำมันสำรองก็ควรเติมให้เต็มเช่นกัน ถ้าให้ดี ตรวจสอบด้วยว่า ช่วงหลักกิโลเมตรไหน มีปั๊ม ไม่มีปั๊ม โดยดูจากในแผนที่หรือสอบถามผู้ที่เคยใช้เส้นทาง
  10. ศึกษาแผนที่การเดินทางของคุณ จะได้ไม่เสียเวลาไปผิดเส้นทางและเพื่อจะกำหนดเวลาสถานที่แวะพักทั้งรถและคน ในกรณีที่เดินทางไกลมากๆ ส่วนใหญ่จะแวะปั๊มน้ำมัน เพราะมีบริการที่เราต้องการอย่างครบถ้วน (ปัจจุบันมีทราบมาว่ามีร้านทำผม

วิธีการเลือกที่พักที่เหมาะกับคุณ

โพสโดย chit เมื่อ Wed Mar 19, 2008 8:55 am
วิธีการเลือกที่พักที่เหมาะกับคุณ
การเลือกที่พักนั้นควรจะเลือกให้ดี เพราะเราก็ไม่ได้เปลี่ยนที่พักบ่อยๆ

1.เรื่องความใกล้ไกลระหว่างถนนสายหลักกับที่พัก
2.ความปลอดภัย 

3.น้ำท่วม กรุงเทพฯหลายๆพื้นที่ พอฝนตกหนักเมื่อไหร่น้ำท่วมเมื่อนั้น ถือเป็นเรื่องธรรมดามาก 

4.ตำแหน่งของห้อง อย่าเลือกห้องพักที่อยู่ใช้บนสุด ตอนกลางวันนั้นท่านอาจจะร้อนตับแตกได้ เพราะความร้อนจะแพร่ผ่านดาดฟ้าลงมาสู่ห้องโดยตรง ทำให้ห้องนั้นร้อนเป็นพิเศษ นอกจากนั้นยังต้องเดินขึ้นลงบันไดจนเมื่อยแน่ๆ หากที่พักนั้นๆ ไม่มีลิฟต์ 

5.ร้านค้า ร้านอาหาร ควรจะมีอยู่ใกล้ในละแวกนั้นๆ สามารถเดินไปได้ 

6.บันทึกเบอร์โทรศัพท์ของสถานีตำรวจในเขตนั้นๆในกระเป๋าสตางค์และในโทรศัพท์มือถือไว้ เพราะเบอร์ 191 ของประเทศไทยนั้นมักจะโทรไม่ติดตอนมีเหตุฉุกเฉินเสมอ หรือจะโทรไปที่ จส.100 ก็ได้ ที่เบอร์ 1137 ที่จส.100จะมีเจ้าหน้าที่คอยส่งต่อข้อความของคุณไปที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกที

7.สัญญาเช่า ควรอ่านดูให้ละเอียดทุกตัวอักษร โดยเฉพาะที่เขียนไว้ว่าหากเลิกเช่าก่อน 6 เดือนหรือ 1 ปี ทำผิดสัญญาจะไม่ได้เงินมัดจำคืน การกระทำอะไรที่จะถือว่าผิดสัญญาได้ต้องอ่านและทำความเข้าใจให้ดี 

8. คลื่นโทรศัพท์มือถือ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ อพาร์ทเมนท์บางที่อยู่ใจกลางกรุง พอเข้าไปในห้องปุ๊บ 

9. ที่จอดรถ ดูด้วยว่าที่จอดรถยนต์นั้นเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ มีจอดพอไม๊
ระยะเวลาในการขโมยรถ
ถ้าเป็นมอเตอร์ไซต์ที่ไม่มีการป้องกันอะไรเพิ่มเติมเลย กระพริบตา 10 ครั้ง รถก็หายไปแล้ว
รถยนต์ 10-60 นาที ขึ้นอยู่กับระบบป้องกัน ถ้ารถคุณสามารถทำให้โจรเหนื่อยเกิน 60 นาทีได้ คุณโจรจะไปเลือกรถคันอื่นแทน

10. สังเกตุแม่บ้านที่ทำความสะอาดและบุคคลที่มีการสังสรรค์กันตอนกลางคืน

สุดท้าย ถามบุคคลที่พักอาศัยแถวนั้นว่ามีเหตุการณ์ที่ดีหรือไม่ดีหรือไม่

http://th.ipanelonline.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น